จัดการกับปัญหาปัสสาวะแบบผิดๆ อาจส่งผลร้ายต่อสุขภาพจนคุณต้องพึ่งคนดูแล
หลายคนที่เริ่มมีปัญหาปัสสาวะเล็ดมักขาดการดูแลอย่างเหมาะสม ด้วยความที่ไม่มีความรู้ และไม่กล้าที่จะปรึกษาคนอื่น ทำให้ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่มีความรุนแรงมากขึ้น จนส่งผลต่อคุณภาพการใช้ชีวิต และการมีผู้ช่วยดูแล
ศูนย์วิจัยยูนิชาร์มจึงร่วมมือกับองค์กรต่างๆ เพื่อเผยแพร่ความรู้ในการรับมือกับภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในวัยสูงอายุ ผ่านการจัดกิจกรรมสัมมนาเสริมความรู้ และการใช้สื่อต่างๆ โดยมีเป้าหมายที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ สามารถดูแลตัวเองไม่ให้ปัญหาปัสสาวะมีความรุนแรงมากขึ้นจนต้องมีผู้ช่วยดูแล และป้องกันตัวเองจากการเป็นผู้สูงอายุติดบ้าน
แล้วคุณล่ะ? คุณจะปล่อยให้มีอาการปัสสาวะรั่วซึมไหม? เราอยากอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างอาการปัสสาวะเล็ดและการดูแลให้ทราบกัน
จำเป็นไหมที่ต้องมีผู้ช่วยดูแล เมื่อผู้สูงอายุมีปัญหาปัสสาวะ?
ในกรณีที่ผู้สูงอายุมีสภาพร่างกายแข็งแรงแต่มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ก็สามารถใช้ชีวิตได้เองตามปกติ เพียงแต่ต้องเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้น และหันมาใช้แผ่นซึมซับปัสสาวะที่จะช่วยเพิ่มความสะดวกในการทำกิจกรรมต่างๆ
แต่หากเป็นผู้สูงอายุที่มีข้อจำกัดด้านสภาพร่างกาย และมีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ก็จำเป็นที่จะต้องมีผู้ช่วยดูแล
ทำไมการมีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ที่รุนแรงขึ้น และเป็นเหตุให้ผู้สูงอายุต้องมีผู้ช่วยดูแล?
ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ที่รุนแรงขึ้นทำให้ผู้สูงอายุต้องเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้น ไปไหนมาไหนก็ต้องแวะ หรือขอใช้ห้องน้ำอยู่เสมอ จึงเกิดความรู้สึกอาย เครียด กลายเป็นผู้สูงอายุติดบ้านที่ขาดการพบปะผู้คน และทำกิจกรรมต่างๆ น้อยลง ส่งผลเสียต่อสมรรถภาพร่างกายและสุขภาพจิตในระยะยาว ทำให้สูญเสียความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อ การดูแลตัวเอง และต้องมีผู้ช่วยดูแลในท้ายที่สุด
การจัดการกับกลั้นปัสสาวะไม่อยู่แบบผิดๆ คือสาเหตุของอาการที่รุนแรงขึ้น
คุณสามารถป้องกันไม่ให้ปัญหาปัสสาวะรุนแรงขึ้นได้ โดยการรับมือกับอาการอย่างถูกต้อง เริ่มจากการใช้แผ่นซึมซับเมื่อคุณต้องออกไปทำกิจกรรมต่างๆ การออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อลดอาการปัสสาวะเล็ด หรือการรับคำแนะนำจากแพทย์
หัวใจสำคัญของการจัดกิจกรรมสัมมนาคือการเสริมสร้างความรู้ในการจัดการกับภาวะปัสสาวะเล็ดที่ถูกต้อง เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติ ลองมาดูกันว่าผู้ที่เข้าร่วมการสัมมนามีความคิดเห็นอย่างไรกันบ้าง
ความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมการสัมมนา
ไม่รู้ว่าจะปรึกษาใคร หรือคุยกับใคร ก็ต้องมาหาความรู้จากการร่วมงานนี้แบบนี้
ที่ผ่านมาใช้แต่ผ้าอนามัยเพื่อจัดการกับอาการปัสสาวะเล็ด พึ่งรู้ว่ามีสินค้าสำหรับผู้มีปัญหาปัสสาวะโดยเฉพาะ ซึ่งมันใช้ดีมากๆ
ได้รู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเพื่อลดอาการปัสสาวะเล็ด จากนี้ไปจะออกกำลังกายทุกวันเลย
ได้ความรู้ ช่วยให้เราเข้าใจ และเห็นถึงความสำคัญของการจัดการกับภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
ไม่เคยรู้เลยว่ามีแผ่นซึมซับปัสสาวะแบบนี้ด้วย มันจะเป็นตัวช่วยที่ทำให้ฉันกล้าออกจากบ้านขึ้น
ไม่เคยคิดเลยว่า เราสามารถปรึกษาเกี่ยวกับภาวะปัสสาวะเล็ดที่คลินิคได้
หลายคนที่เข้าร่วมสัมมนามีความเข้าใจมากขึ้น และสบายใจมากขึ้นเมื่อได้รู้วิธีในการจัดการกับอาการที่ถูกต้อง
จากการสำรวจผู้มาขอรับคำปรึกษาปัญหาปัสสาวะ โดยแพทย์หญิง คูมิโกะ คาโตะ ที่โรงพยาบาลไดอิชิในสังกัดสภาพกาชาด ประเทศญี่ปุ่น พบว่า ผู้มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ส่วนใหญ่ ปกปิดอาการ และไม่ได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญนานถึง 9.1 ปี
โดยมีผู้ป่วยจำนวน 113 คน หรือร้อยละ 64 ที่ปกปิดอาการของตัวเองไว้นาน 5 ปีหรือมากกว่า และอีก 76 คน หรือร้อยละ 43% ที่ปกปิดไว้นานถึง 10 ปี