Thailand

  1. หน้าหลัก
  2. ปรัชญาของไลฟ์รี่ คือการสนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้ใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพดี
  3. ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ทำให้การใช้ชีวิตในวัยสูงอายุลำบากมากขึ้นหรือไม่?

ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ทำให้การใช้ชีวิตในวัยสูงอายุลำบากมากขึ้นหรือไม่?

การใช้ชีวิตในวัยสูงอายุอย่างปกติสุข คือการใช้ชีวิต และทำสิ่งต่างๆ ได้เองแบบคนปกติทั่วไป

แต่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักจะมีปัญหากับการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ และมีสมรรถภาพร่างกายที่เสื่อมลง จนทำให้การใช้ชีวิตด้วยตัวเองเป็นเรื่องยาก และหลายๆ คนก็มักจะละเลยที่จะบอกคนในครอบครัว หรือปรึกษาแพทย์ จนทำให้อาการเหล่านี้รุนแรงยิ่งขึ้น

ผลสำรวจโดย ยูนิชาร์ม เดือนมีนาคม พ.ศ. 2558 (จากผู้ทำแบบสอบถามจำนวน 1,237 คน)

1 ใน 4 ของผู้สูงอายุวัย 50 ปีขึ้นไป มีอาการปัสสาวะเล็ด

อัตราผู้สูงอายุที่มีอาการปัสสาวะเล็ด ตามช่วงอายุต่างๆ

ผลการสำรวจพบว่า ร้อยละ 24.9 หรือ 1 ใน 4 ของผู้สูงอายุในวัย 50 ปีขึ้นไป มีอาการปัสสาวะเล็ด ในขณะที่ผู้สูงอายุวัย 70 ปี จะพบผู้มีอาการปัสสาวะเล็ดได้มากขึ้นเป็น 1 ใน 3 ของวัยนี้

คนส่วนใหญ่ละเลยต่อการดูแลอาการปัสสาวะเล็ด

ทำอย่างไรเมื่อรู้ว่าตัวเองมีอาการปัสสาวะเล็ด

ร้อยละ 46.3 หรือเกือบครึ่งหนึ่งของผู้ที่พบว่าตัวมีอาการปัสสาวะเล็ด จะนิ่งเฉย และไม่มีการจัดการดูแลใดๆ (เช่น การหันมาใช้สินค้าสำหรับผู้มีปัญหาปัสสาวะ เมื่อพบว่าตัวเองมีอาการปัสสาวะเล็ด)

ตัวเลขนี้แสดงให้เห็นว่าครึ่งหนึ่งของคนที่มีภาวะกลั้นปัสสาวะนั้นขาดการจัดการ และการดูแลที่เหมาะสม ซึ่งอาจส่งผลลบต่อสมรรถภาพร่างกายของผู้สูงอายุได้

4 กิจวัตรสำคัญที่จะช่วยให้คุณใช้ชีวิตในวัยสูงอายุอย่างมีคุณภาพ ได้แก่
อาหาร, การออกกำลังกาย, การนอนหลับ และการจัดการกับภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่อย่างถูกต้อง

กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการประเทศญี่ปุ่น แนะแนวทางปฏิบัติเพื่อการใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพดีภายใต้โครงการ Healthy Japan 21 ที่มุ่งส่งเสริมให้คนมีสุขภาพดี และมีอายุยืนยาว โดยแบ่งเป็น 3 ข้อปฏิบัติได้แก่ 1.โภชนาการที่ครบถ้วน 2.การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และ 3. การนอนหลับอย่างเพียงพอ

แต่ทั้ง 3 ข้อปฏิบัติอาจไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ โดยจากการสอบถามพบว่าร้อยละ 18.7 ของผู้ที่มีภาวะดังกล่าว ไม่อยากออกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน ร้อยละ 30.2 มีปัญหากับการตื่นกลางดึกจากอาการปัสสาวะเล็ด และร้อยละ 25.9 เลือกที่จะดื่มน้ำน้อยลง เพื่อลดการปัสสาวะ

ด้วยเหตุนี้เอง การประยุกต์ใช้แนวทางปฏิบัติเพื่อสุขภาพทั้ง 3 ข้อกับกลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่จึงเป็นเรื่องยาก

อย่างการนอนหลับ หลายคนต้องตื่นกลางดึกเพราะอาการปัสสาวะเล็ด ส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับ และทำให้นอนหลับไม่เพียงพอ การลดปริมาณการดื่มน้ำเพื่อลดการปัสสาวะ เป็นการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องในด้านโภชนาการ และยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคลมแดด ลดความอยากอาหาร และก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมา และความไม่อยากออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านที่บั่นทอนสมรรถภาพร่างกาย ถือเป็นการขาดการออกกำลังอย่างหนึ่งด้วยเช่นกัน

คุณสมบัติพิเศษ

แต่หากคุณมีการรับมือกับภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ได้อย่างถูกวิธี ก็จะช่วยให้คุณกลับมาใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพดีได้ ศ.ดร ทาคาโอะ ซูซูกิ (บัณฑิตวิทยาลัยเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ มหาวิทยาลัยเจเอฟโอเบอร์ลิน)

ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่เกิดขึ้นได้กับทุกคนเมื่อถึงวัยสูงอายุ และคุณไม่ใช่คนเดียวที่ไม่กล้าออกจากบ้านไปเจอผู้คน เพราะกังวลกับอาการปัสสาวะเล็ด

แต่จำไว้ว่าหากเรามีการจัดการกับเจ้าอาการนี้อย่างถูกวิธี เราก็สามารถกลับมาดูแลตัวเอง และใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพดีได้

เลือกร้านค้าออนไลน์ที่คุณต้องการ