Thailand

  1. หน้าหลัก
  2. คำแนะนำในการดูแลช่วยเหลือผู้มีปัญหาในการขับถ่าย
  3. คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในการดูแล และฟื้นฟูสุขภาพ
  4. การดูแลผู้สูงอายุที่ยืน หรือนั่งได้โดยมีผู้ช่วย

นพ. ฮิโตชิ โอตะ การดูแลผู้สูงอายุที่ยืน หรือนั่งได้โดยมีผู้ช่วย

คำแนะนำเกี่ยวกับการออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูสุขภาพ จากนายแพทย์โอตะ ฮิโตชิ ผู้เชี่ยวชาญในด้านศาสตร์ฟื้นฟู พร้อมให้ความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมการออกกำลังกาย Silver Rehabilitation

สิ่งสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุมีอะไรบ้าง

เริ่มจากตัวผู้ดูแล และสมาชิกคนอื่นๆ ภายในบ้านต้องให้การยอมรับ และเตรียมความพร้อมที่จะดูแลผู้สูงอายุภายในบ้าน

รวมทั้งการขอรับคำแนะนำจากโรงพยาบาล หรือแพทย์ประจำตัวผู้สูงอายุ เพื่อให้ทราบถึงขั้นตอน และเข้าใจสภาพร่างกายของตัวผู้สูงอายุ เพื่อให้เราสามารถดูแลได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

สิ่งที่ขาดไม่ได้ในการดูแลผู้สูงอายุ

สามารถแบ่งได้เป็น 6 อย่าง เรียกว่า "1S5M"

โดย S คือ Space หมายถึง พื้นที่

และ 5M ได้แก่ Manpower (กำลังคน), Machine (อุปกรณ์อำนวยความสะดวก), Money (เงิน), Management (การจัดการ) และ Mindset (ทัศนคติ)

Space (พื้นที่) คือการเตรียมพื้นที่ให้เพียงพอ เช่น พื้นที่ทางเดิน และห้องน้ำที่มีขนาดเพียงพอต่อการใช้รถเข็น

Manpower (กำลังคน) ปกติแล้วควรมีผู้ดูแลจำนวน 2 - 3 คน ในการสับเปลี่ยนช่วงเวลาดูแลผู้สูงอายุ เพื่อให้ตัวผู้แลเองมีเวลาในการทำกิจกรรมส่วนตัวอย่างอื่น และพักผ่อนได้อย่างเพียงพอ

Machine (อุปกรณ์อำนวยความสะดวก) อุปกรณ์ที่จำเป็นต่อตัวผู้สูงอายุ เช่น รถเข็น เตียง เป็นต้น

Money (เงิน) สำหรับซื้อชองใช้ และอุปกรณ์ต่างๆ

Management (การจัดการ) ความรู้ ความเข้าใจในหน้าที่ของผู้ดูแล และคนในครอบครัว เพื่อช่วยให้การดูแลผู้สูงอายุเป็นไปอย่างราบรื่น และเหมาะสม

Mindset (ทัศนคติ) การยอมรับ และความพร้อมในการดูแลผู้สูงอายุ

จะทำอย่างไรเมื่อรู้สึกว่าการดูแลผู้สูงอายุเป็นเรื่องยาก

ไม่ใช่แค่ตัวของผู้ดูแลที่รู้สึกยาก หรือลำบาก แต่ตัวผู้ถูกดูแลเองก็เช่นกัน ทั้งสองฝ่ายควรให้เวลากันและกันในการลองผิดลองถูก เพื่อหาวิธีที่ลงตัว และเหมาะสม

รวมถึงการขอรับความช่วยเหลือจากบุคคลภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญ อย่างการว่าจ้างพยาบาลพิเศษมาช่วยดูแลที่บ้าน เพื่อช่วยให้คนในครอบครัวได้เรียนรู้เทคนิควิธี และช่วยแบ่งเวลาในการจัดการสิ่งต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น

พยายามให้ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมต่างๆ ในทุกวัน เพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูสมรรถภาพกาย และใจ

การฟื้นฟูสมรรภาพของผู้สูงอายุไม่ใช่เรื่องยาก เพราะแค่การได้ทำกิจวัตรฟื้นฐานด้วยตัวเอง อย่างการกิน ลุก-นั่ง เดินเข้าห้องน้ำ เป็นประจำในทุกๆ วัน ก็ช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายได้ ในขณะที่ผู้ดูแลเองมีหน้าที่ในการส่งเสริม คอยชี้นำให้ผู้สูงอายุอยากที่จะทำกิจกรรมต่างๆ ที่จำเป็น และคอยปกป้องจากการเกิดอุบัติเหตุ

เมื่อผู้สูงอายุมีความคล่องตัวในการทำกิจวัตรพื้นฐานต่างๆ ภายในบ้านได้ดีแล้ว อาจพาออกไปทำกิจกรรมอย่างอื่นนอกบ้าน เช่น ออกไปเดินเล่นที่สวนสาธารณะ เรียกว่าเป็นการออกไปเปิดหูเปิดตา และเติมเต็มการใช้ชีวิตให้กับผู้สูงอายุ ซึ่งจะช่วยฟื้นฟูทั้งสุขภาพกาย และใจได้เป็นอย่างดี

โปรแกรม Silver Rehabilitation ที่คิดค้นโดยคุณหมอ โอตะ คืออะไร และจะช่วยในการฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุได้อย่างไรบ้าง

ที่ญี่ปุ่นเรามีประชากรผู้สูงอายุเยอะมาก ดังนั้นเราจึงคิดค้นโปรแกรมออกกำลังเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพที่เรียกว่า Silver Rehabilitation เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง เป็นโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพที่ทำได้ง่าย ผู้สูงอายุสามารถสอนกันและกันได้ และไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เมื่อไหร่ ก็สามารถทำออกกำลังเหล่านี้ได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์เลย โดยมีการออกกำลังกายอยู่สองแบบด้วยกันคือ “การออกกำลังกายให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง” และ “การออกกำลังกายอย่างเต็มที่ให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง” ซึง“การออกกำลังกายให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง” เป็นการออกกำลังกายที่ทำขึ้นสำหรับคนที่มีร่างกายครึ่งซีกเป็นอัมพาตจากโรคเส้นเลือดแตกในสมอง และสามารถออกกำลังกายได้ทั้งที่กำลังนอนอยุ่, นั่งอยู่ หรือกำลังยืนอยู่ เพื่อป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อเกิดการแข็งตัว

ส่วน“การออกกำลังกายอย่างเต็มที่ให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง” จะเป็นการออกกำลังที่มีการขยับแบบง่ายๆเพื่อทำให้กล้ามเนื้อได้ยืดหยุ่น และเสริมให้กล้ามเนื้อแข็งแรงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุหรือใครก็ตามก็สามารถออกกำลังได้

ประโยชน์จากการทำออกกำลังเพื่อการฟื้นฟู

ท่าออกกำลังมีให้เลือกหลากหลายท่า และหลากหลายประเภท โดยผู้สูงอายุสามารถเลือกทำได้ตามความถนัด

การทำออกกำลังนี้ไม่จำเป็นต้องมีการอบอุ่นร่างกาย (การวอร์ทอัพ) จึงช่วยลดขั้นตอน ประหยัดเวลา และสามารถทำเมื่อไหร่ก็ได้ที่มีเวลาว่าง ซึ่งเมื่อทำเป็นประจำแล้วผู้สูงอายุจะรู้สึกได้ว่าตัวเองสามารถใช้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ในการทำกิจกรรมต่างๆ ได้ดีขึ้น ซึ่งการมีสุขภาพกายที่ดีนี้เองจะช่วยส่งเสริมให้ผู้สูงอายุอยากที่ทำกิจกรรมต่างๆ และมีความสุขกับการใช้ชีวิตในแต่ละวันมากขึ้นนั้นเอง

นายแพทย์ ฮิโตชิ โอตะ

คุณหมอโอตะจบการศึกษาคณะแพทย์ศาสตร์จาก มหาวิทยาลัยแพทย์และทันตกรรมโตเกียว ปัจจุบันรับตำแหน่งเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา มหาวิทยาลัยอิบารากิ และรับตำแหน่งเป็นผู้ดูแลศูนย์สุขภาพอิบารากิ โดยในป พ.ศ. 2539 คุณหมอโอตะได้คิดค้น และเปิดแผนการฟื้นฟูสุขภาพด้วยโปรแกรม Silver Rehabilitation เป็นครั้งแรกที่โรงพยาบาลแห่งมหาวิทยาลัยอิบารากิ

การดูแลผู้สูงอายุที่ยืน หรือนั่งได้โดยมีผู้ช่วย-ไลฟ์รี่ ประเทศไทย

เลือกร้านค้าออนไลน์ที่คุณต้องการ

  • LifreeFamily
  • Shopee
  • Lazada