ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อม
ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมคือ ความชรา และพันธุกรรม คิดเป็นร้อยละ 65 ของสาเหตุการเกิดภาวะสมองเสื่อมทั้งหมด
ขณะที่อีกร้อยละ 35 เป็นปัจจัยด้านพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การสูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย และยังพบว่า ความสามารถทางการได้ยิน ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมเช่นกัน โดยพบมากเป็นร้อยละ 9 ของปัจจัยด้านพฤติกรรมการใช้ชีวิต
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อภาวะสมองเสื่อม ดังนี้
ปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อภาวะสมองเสื่อม
การสูบบุหรี่ และการไม่ออกำลังกาย
มีงานวิจัยจำนวนมากพบว่าคนที่ขาดการออกกำลังกาย หรือการทำกิจกรรมที่ต้องเดิน ขยับตัว มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อมได้มากกว่าคนที่ออกกำลังกายเป็นประจำ
ส่วนการสูบบุหรี่ เสี่ยงต่อการเกิดอาการผิดปกติ หรือโรคที่เพิ่มโอกาสการเกิดภาวะสมองเสื่อม เช่น เส้นเลือดสมองตีบ และความดันสูง
โรคปริทันต์ หรือโรคเหงือกอักเสบเรื้อรัง (รำมะนาด)
อาการอักเสบที่ก่อให้การทำลายอวัยวะรอบตัวฟัน เช่น เหงือก กระดูกรองรับรากฟัน เคลือบรากฟัน ของโรคปริทันต์ เป็นเหตุที่ทำให้ร่างกายสามารถติดเชื้อจากแบคทีเรียทางช่องปากได้ง่าย และเสี่ยงต่อการเกิดโรคภาวะหลอดเลือด โรคหัวใจ และเบาหวาน ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อม
นอกจากนี้อาการอักเสบรุนแรงของเหงือกยังทำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้น้อยลง ขาดสารอาหาร ส่งผลต่อการคงสภาพของกล้ามเนื้อ กระดูก และสมอง ที่ส่งผลต่อภาวะสมองเสื่อมได้เช่นกัน
การขาดการศึกษา และขาดการทำกิจกรรมที่ต้องใช้ความคิด
งานวิจัยจากสหรัฐอเมริกาพบว่าผู้ที่เกิดในยุคที่การระบบการศึกษายังไม่พัฒนาเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมได้มากกว่า
รวมถึงการขาดการทำกิจกรรมที่ต้องใช้การคิดวิเคราะห์ หรือการทำสิ่งใหม่ๆ ก็เป็นอีกปัจจัยเสี่ยงเช่นกัน
ขาดการเข้าสังคม และพบปะผู้คน
การพบปะผู้คนเป็นกิจกรรมที่กระตุ้นการทำงานของระบบประสาท สมอง และการบวนการจดจำได้เป็นอย่างดี การมีแผนที่จะทำสิ่งต่างๆ ต้องคิด เตรียมตัวอยู่เสมอ ซึ่งมีส่วนช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์สมอง
การขาดโอกาสในการทำกิจกรรมเหล่านี้จึงส่งผลต่อประสิทธิภาพในการรับรู้ และการเรียกคืนความจำที่ลดลง
ภาวะเครียดส่งผลต่อสุขภาพจิต
คนที่มีภาวะเครียด หรือเกิดอาการเครียดได้ง่าย มีโอกาสเกิดภาวะสมองเสื่อมสูงกว่าปกติถึง 2-3 เท่า
ทั้งนี้การเริ่มมีอาการหลงลืมในช่วงแรกของภาวะสมองเสื่อม ก็ทำให้เกิดภาวะเครียดที่ยิ่งส่งผลต่อตัวผู้ป่วยได้เช่นกัน