ประเภทของภาวะสมองเสื่อม
ภาวะสมองเสื่อม เกิดจากความเสื่อมของสมอง ที่ทำให้ความสามารถในการจดจำ และกระบวนการคิดลดลง มีโอกาสเกิดขึ้นได้ร้อยละ 1.5 ในผู้สูงอายุวัย 65 - 69 ปี และเพิ่มเป็นร้อยละ 27 ในช่วงวัย 85 ปี หรือคิดเป็น 1 ใน 4 คนที่มีโอกาสเป็นโรคสมองเสื่อม
ประเภทของภาวะสมองเสื่อม
ภาวะสมองเสื่อมแบบออกเป็น 4 กลุ่มหลัก ดังนี้
ลืมสิ่งที่พึ่งเกิดขึ้น หรือพึ่งรับรู้ (กลุ่มโรคอัลไซเมอร์)
ภาวะสมองเสื่อมที่เกิดจากการหดตัวของสมอง พบมากถึง 70% ในผู้ป่วยทั้งหมด โดยสามารถจดจำเหตุการณ์ที่ผ่านมาได้ในอดีต แต่จะลืมเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดได้อย่างง่ายดาย อาการเหล่านี้เริ่มต้นด้วยการหลงลืมเล็กๆน้อยๆ จนเกิดเป็นอาการหลงลืมที่มากขึ้น
สูญเสียความทรงจำบางส่วน (กลุ่มโรคสมองเสื่อมจากหลอดเลือดในสมองตีบ)
ภาวะสมองเสื่อมที่เกิดจากการตายของเซลล์สมอง จากอาการหลอดเลือดตีบ หรือเลือดออกในสมอง พบมากเป็น 20% ของผู้ป่วยทั้งหมด และมีลักษณะเด่นคือ จะเป็นภาวะสมองเสื่อมที่ไม่ได้ลืมทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ยังมีความทรงจำบางส่วนอยู่ และจะไม่มีอาการที่แย่ลง ตราบใดที่ไม่มีปัญหาของหลอดเลือดเพิ่มขึ้นมา
อาการหลอน และสั่น (กลุ่มโรคสมองเสื่อมจากลิววี่บอดี้)
กลุ่มโรคสมองเสื่อมที่พบได้ 4% จากผู้ป่วยทั้งหมด เกิดจากการสร้าง และสะสมของโปรตีนที่ผิดปกติภายในสมอง (ลิววี่บอดี้) ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะมีอาการหลอนทางการมองเห็น และเคลื่อนไหวช้า
ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ (กลุ่มโรคสมองส่วนหน้าและส่วนขมับเสื่อม)
กลุ่มโรคสมองเสื่อมนี้มีเพียง 1% จากผู้ป่วยทั้งหมด และจัดเป็นโรคสมองเสื่อมที่ไม่สามารถรักษาได้ ผู้ป่วยในกลุ่มนี้มีสูญเสียความสามารถในการควบคุมอารมณ์ ซึ่งเกิดจากความเสื่อมของสมองส่วนที่หน้าที่ใช้ควบคุมอารมณ์ ความรู้สึก และการตัดสินใจ ไม่เคารพกฏกติกา และทำให้มีปัญหาต่อการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม
สมองมีขั้นตอนในการจดจำ 3 ขั้นตอน ได้แก่
1. เรียนรู้ และรวบรวมข้อมูล
2. เก็บบันทึกข้อมูล
3. เรียกคืนความจำ
อาการลืม ที่เกิดขึ้นได้ตามวัยของผู้สูงอายุ เกิดจากการความสามารถในการเรียกคืนความจำ (ขั้นตอนที่ 3) ของสมองลดลงตามวัย ใน
ขณะที่ภาวะสมองเสื่อมเกิดจากการที่สมองไม่สามารถเรียนรู้ และรวบรวมข้อมูลได้ (ขั้นตอนที่ 1)
เช่น สามารถจำได้ว่าเคยให้สัญญากับคนๆ หนึ่งไว้ แต่จำไม่ได้ว่าที่ไหน คืออาการลืม ในขณะที่การจำไม่ได้เลยว่าเคยให้สัญญากับใครไว้ คืออากาของภาวะสมองเสื่อม
การลืมที่เกิดขึ้นจากอายุที่มากขึ้น |
การลืมที่เกิดจากภาวะสมองเสื่อม |
|
---|---|---|
การลืมชื่อเรียก หรือเนื้อหาที่จะพูด |
การลืมความทรงจำบางส่วน (เช่น จำได้ว่าเคยให้สัญญากับคนๆ หนึ่งไว้ แต่จำไม่ได้ว่าที่ไหน) |
การสูญเสียความทรงจำ (เช่น ลืมว่าเคยให้สัญญากับใครไว้) |
เรียนรู้สิ่งใหม่ |
สามารถจดจำได้ |
ไม่สามารถจำได้ |
ชีวิตประจำวัน |
ใช้ชีวิตประจำวันได้เกือบทั้งหมด |
มีอุปสรรค |
การเข้าสังคม |
ไม่ค่อยมีผลกะทบ |
มีปัญหา เช่น บุคลิกภาพเปลี่ยนไป |