Thailand

  1. หน้าหลัก
  2. การป้องกันภาวะสมองเสื่อม
  3. ภาวะสมองเสื่อม เป็นมากกว่าการ "ลืม"

ภาวะสมองเสื่อม เป็นมากกว่าการ "ลืม"

เรามักจะคิดว่าภาวะสมองเสื่อม คืออาการที่ทำให้เรา "ลืม" สิ่งต่างๆ เพียงอย่างเดียว แต่จริงๆ ภาวะสมองเสื่อมยังเป็นสาเหตุของอาการหัวร้อน หงุดหงิดง่าย หรือแม้แต่นอนไม่หลับ

ภาวะสมองเสื่อมจึงแบ่งอาการออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

1. อาการสมองเสื่อม

2. ปัญหาพฤติกรรม อารมณ์ และอาการทางจิต ที่เป็นผลกระทบจากอาการสมองเสื่อม (BPSD)

Behavioral and psychological symptoms of dementia (BPSD) หรือเรียกว่า ปัญหาพฤติกรรม อารมณ์ และอาการทางจิต

การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม อารมณ์ และอาการทางจิต ที่เกิดขึ้นได้ทั่วไป

อาการผิดปกติทั่วไปที่พบได้ในผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมทุกราย และเป็นกลุ่มอาการที่ช่วยในการวินิจฉัยระดับความรุนแรงของโรค

สูญเสียความทรงจำ

การสูญเสียความสามารถในการจดจำสิ่งใหม่ แต่ยังสามารถจดจำสิ่งต่างๆ ในอดีตได้ เป็นลักษณะอาการเริ่มต้นของภาวะสมองเสื่อม

ขาดความเข้าใจ และการตัดสินใจ

ไม่สามารถจับใจความ หรือเข้าใจในสิ่งที่พูด เมื่อผู้พูด พูดถึงสิ่งต่างๆ มากกว่า 2 อย่างในเวลาเดียวกัน หรือการพูดเร็วๆ

หรือไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร เมื่อต้องใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน, ตู้กดเงิน และสิ่งอื่นๆ

ขาดการรับรู้เรื่องราวรอบตัว

ขาดการรับรู้เรื่องราวรอบตัว เช่น วันเวลาปัจจุบัน ฤดูกาล และไม่รู้ว่าตัวเองกำลังทำอะไร อยู่ที่ไหน หรือการสูญเสียความทรงจำเกี่ยวกับคนในครอบคัว

อาการผิดปกติที่พบได้ในผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมบางราย

อาการที่พบได้ในผู้ป่วยบางราย จะแตกต่างกันไปตามรูปแบบการใช้ชีวิตของแต่ละคน

เดินอย่างไร้จุดหมาย

ผู้ป่วยเกิดนึกที่จะทำอะไรบางอย่าง แต่เกิดการลืมสิ่งนั้นในกระทันหัน และเดินวนไปวนมาโดยลืมไปว่าตัวเองจะทำอะไร

อาการหลงผิด

เกิดความเชื่อในสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง เช่น เมื่อหาสิ่งของบางอย่างไม่เจอจึงเชื่อว่าของถูกขโมย หรือเชื่อว่าของไม่ได้หายแต่ถูกวางไว้ที่อื่น ทั้งๆ ที่ของชิ้นนั้นได้หายไปแล้วจริงๆ โดยมักเกิดขึ้นเฉพาะกับสิ่งของที่เป็นของสำคัญ หรือของที่หยิบใช้อยู่ประจำ

ประสาทหลอน

อาการประสาทหลอนทางประสาทสัมผัส เช่น คิดว่ามีคนเดินเข้ามา หรือคิดว่าได้ยินอะไรบางอย่าง

การใช้ความรุนแรง

การสูญเสียความสามารถในการควบคุมอารมณ์ ทำให้โมโหอย่างรุนแรงได้ง่าย

อาการเพ้อ

เกิดความกังวล ตื่นเต้นตกใจ หรือเอะอะโววายเวลาตื่นกลางดึก เกิดขึ้นได้เมื่อต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล มีไข้สูง หรือมีปัญหากับการนอนหลับ

อาการซึมเศร้า

ผู้ป่วยมักมีอาการซึมเศร้า หมดใจในการทำสิ่งต่างๆ ที่เคยชอบ

การเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพ

เช่น เปลี่ยนจากคนที่ใจเย็น กลายเป็นคนอารมณ์ร้อน โมโหง่าย

ขาดสุขอนามัย

ผู้ป่วยมักจะไม่ชอบอาบน้ำ หรือไม่เปลี่ยนเสื้อผ้า

ข้อมูลจาก กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการ ประเทศญี่ปุ่น

เลือกร้านค้าออนไลน์ที่คุณต้องการ

  • LifreeFamily
  • Shopee
  • Lazada